จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันเสาร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2554

การขนส่งสินค้าทางอากาศในจีน

             จีนต้องการพัฒนาศักยภาพทางการบินเพื่อขนสินค้าออกเข้าทางอากาศให้เพิ่มจากปีละ 570,000 ตัน เพิ่มเป็น 1 ล้านตัน ให้สามารถขนส่งผู้โดยสารเพิ่มจาก 29.3 ล้านคนในปีนี้ (พ.ศ.2553) เพิ่มเป็น 43 ล้านคน ในอีก 5 ปีข้างหน้า ในแผนพัฒนาชาติฉบับที่ 10 ภายในเวลา 5 ปีข้างหน้า จีนจะส่งดาวเทียมเพื่อการสื่อสารขึ้นไปโคจรอีก 35 ดวง
ธุรกิจสายการบินของประเทศจีนเติบโตอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันมีสายการบินขนาดใหญ่ 3 สายการบินแข่งขันอย่างรุนแรงกับสายการบินต่างประเทศและสายการบินต้นทุนตํ่าที่เข้าไปแย่งตลาด ปัจจุบันจีนเป็นตลาดขนส่งทางอากาศที่เติบโตรวดเร็วมาก ในปี 2549 มีผู้โดยสารใช้บริการทางการบิน 160 ล้านคน เพิ่มขึ้น 15% เมื่อเปรียบเทียบกับตัวเลขปี 2548 ที่มีปริมาณ 138.3 ล้านคน เดิมภายหลังจากพรรคคอมมิวนิสต์สถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อเดือนตุลาคม 2492 ประเทศจีนมีเพียงสายการบินเดียวที่ผูกขาดการดำเนินการโดยหน่วยงาน CAAC
บริการขนส่งทางอากาศในประเทศจีนช่วงนั้นจำกัดมาก ธุรกิจการบินในจีนเปลี่ยนแปลงตั้งแต่เติ้งเสี่ยวผิงประกาศนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจเมื่อปี 2521 ทำให้ธุรกิจสายการบินเติบโตอย่างรวดเร็ว ในปี 2531 รัฐบาลแยกธุรกิจการบินของหน่วยงาน CAAC ออกเป็นสายการบินอิสระ 6 สายการบิน ได้แก่ Air China China Eastern Airlines China Southern Airlines China Northwest Airlines China Northern Airlines และ China Southwest Airlines
ต่อมารัฐบาลจีนยกเลิกการผูกขาดธุรกิจสายการบินโดยเปิดให้ก่อตั้งสายการบินใหม่ ทำให้มีผู้ได้รับอนุญาตจำนวนมากทั้งในส่วนที่เป็นรัฐบาลกลาง รัฐบาลท้องถิ่นและบริษัทเอกชน อย่างไรก็ตาม การแข่งขันที่รุนแรงทำให้หลายสายการบินประสบปัญหาทางการเงิน คณะรัฐมนตรีของจีนได้มีมติเมื่อต้นปี 2545 เห็นชอบปรับโครงสร้างสายการบินของรัฐบาลกลางจำนวน 9 สายการบิน โดยกำหนดให้ควบกิจการเข้าด้วยกันเพื่อเป็น 3 สายการบิน ขนาดใหญ่ เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในระดับนานาชาติ ดังนี้
-ควบรวมสายการบิน China Southwest Airlines และสายการบิน China National
Aviation Corp เข้ากับสายการบิน Air China
-ควบรวมสายการบิน Northwest Airlines และสายการบิน Yunnan Airlines เข้ากับสายการบิน China Eastern
-ควบรวมสายการบิน China Northern และสายการบิน Xinjiang Airlines เข้ากับสายการบิน China Southern

 สำนักข่าว เอเอฟพี(AFP) รายงานว่า
สายการบิน Eastern Airlines ของจีนประกาศเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (8 กุมภาพันธ์2553) ว่าได้ควบรวมบริษัทเข้ากับสายการบิน Shanghai Airlines เรียบร้อยแล้ว นับเป็นการควบรวมบริษัทครั้งใหญ่ที่สุดของบริษัทเอกชนในประวัติศาสตร์อุตสาหกรรมการบินจีน คิดเป็นมูลค่า 8,900 ล้านหยวน โดย Shanghai Airlines จะใช้ชื่อบริษัทเดิมหลังจากการควบกิจการ แต่การบริการและทรัพยากรของบริษัทจะถูกเปลี่ยนใหม่ Liu Jiangbo ผู้จัดการทั่วไปของบริษัท Eastern Airlines Corporation กล่าวว่า ได้วางแผนจะพัฒนาการบริการ ระบบงานและเปิดตัวแบรนด์ที่จะให้บริการที่สะดวกและผลิตภัณฑ์คุณภาพสำหรับลูกค้า หลังการควบรวมบริษัท Eastern Airlines จะเป็นเจ้าของเครื่องบินโดยสารมากกว่า 330 ลำ และจะขยายเที่ยวบินออกไปอีก 151 จุด นอกจากนี้ Eastern Airlines จะเป็นเจ้าของทุนมากกว่าหนึ่งแสนห้าหมื่นล้านหยวน
หลังควบรวมกิจการทำให้สายการบิน Air China ประสบผลสำเร็จทางธุรกิจอย่างมาก ในปี 2549 มีกำไรถึง 3,200 ล้านหยวน หรือประมาณ 16,000 ล้านบาท และสายการบินของรัฐบาลกลางจีนทั้ง 3 สายการบินก็กลายเป็นสายการบินขนาดใหญ่โดยมีส่วนแบ่งตลาดรวมกัน 80% ของการขนส่งทางอากาศภายในประเทศ
สายการบิน Air China เป็นสายการบินใหญ่ที่สุดของจีน มีฐานอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ในปี 2549 ขนส่งผู้โดยสารมากถึง 31.5 ล้านคน มีรายได้ 47,000 ล้านหยวน (235,000 ล้านบาท )และมีกำไรมากถึง 3,200 ล้านหยวน หรือ ประมาณ 16,000 ล้านบาท เดิม Air China มีผู้ถือหุ้นใหญ่ คือ บริษัท China National Aviation Holding Company จำกัด ถือหุ้น 69% และสายการบินคาเธย์แปซิฟิคของฮ่องกง ถือหุ้น 10% แต่กลางปี 2549 มีการประกาศเป็นพันธมิตรกับสายการบินคาเธย์แปซิฟิค โดยสายการบิน Air China จะเข้าไปถือหุ้น 17.5% ในสายการบินคาเธย์แปซิฟิค ส่วนสายการบินคาเธย์แปซิฟิคได้เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นในสายการบิน Air China จากเดิม 17.5% เพิ่มขึ้นเป็น 20%
ส่วนสายการบิน China Southern ซึ่งเป็นสายการบินใหญ่ที่สุดของจีน หากวัดตามจำนวนเครื่องบินซึ่งมีมากถึง 309 ลำ ก็ประสบผลสำเร็จทางธุรกิจเช่นเดียวกัน ในปี 2549 ขนส่งผู้โดยสาร 49.2 ล้านคน มีรายได้ 46,000 ล้านหยวน ( 230,000 ล้านบาท) จากเดิมในปี 2548 ขาดทุน 1,850 ล้านหยวน (9,250 ล้านบาท)ปี 2549 กำไร 188 ล้านหยวน(940 ล้านบาท) สายการบินแห่งนี้มีฐานอยู่ที่นครกวางโจวในมณฑลกวางตง ปัจจุบันกำลังขยายฐานจากกวางโจวไปยังปักกิ่งเพื่อแสวงหารายได้เพิ่ม และกำลังสร้างเครือข่ายในระดับโลก โดยกำหนดเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับกลุ่ม Sky Team Alliance ซึ่งมีสายการบินแอร์ฟรานซ์ เดลต้าแอร์ไลน์และโคเรียนแอร์ไลน์เป็นแกนนำ ตั้งแต่ปลายปี 2550 เป็นต้นไป

สายการบิน China Eastern ซึ่งมีฐานอยู่ที่นครเซี่ยงไฮ้กลับประสบปัญหาขาดทุนในปี 2548 เป็นเงิน 467 ล้านหยวน ( 4,335 ล้านบาท) ในปี 2549 ยังมีผลประกอบการขาดทุนอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 ขาดทุนมากถึง 970 ล้านหยวน ( 4,850 ล้านบาท) และมีอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนผู้ถือหุ้นสูงถึง 10/1
สายการบิน China Eastern พยายามขายหุ้น 20% ให้สายการบินต่างประเทศเพื่อกอบกู้สถานการณ์ และมีข่าวว่าสายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์สนใจจะเข้ามาถือหุ้น
สายการบิน China Eastern ยังไม่ได้เข้ากลุ่มพันธมิตร แต่มีข่าวว่ากำลังเจรจาเข้าร่วมกลุ่ม One world Alliance ซึ่งประกอบด้วยสายการบินอเมริกันแอร์ไลน์ สายการบินบริติชแอร์เวย์ สายการบินคาร์เธย์แปซิฟิค และสายการบินแจแปนแอร์ไลน์เป็นแกนนำ ขณะเดียวกันสายการบินของจีนได้ปรับปรุงการซ่อมบำรุงเครื่องบินดีขึ้นมาก พร้อมกับปรับเปลี่ยนจากเครื่องบินรัสเซียมาเป็นเครื่องบินโบอิ้งและแอร์บัส ข้อมูลของบริษัทโบอิ้งในช่วงทศวรรษที่ 1980 สายการบินจีนมีแนวโน้มจะเกิดอุบัติเหตุเครื่องบินตกมากเป็น 5 เท่าของสายการบินสหรัฐฯ แต่ปัจจุบันได้ปรับปรุงไปอยู่ในระดับความปลอดภัยไม่แตกต่างกัน
การที่ธุรกิจสายการบินของจีนเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้ความต้องการบุคลากรเพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกัน ปัจจุบันประเทศจีนมีมหาวิทยาลัยการบินพลเรือนนับเป็นสถานศึกษาที่ผลิตนักบินใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีวิทยาเขตจำนวน 4 แห่ง มีสนามบิน 5 แห่ง และมีเครื่องบินสำหรับฝึกหัดนักบินเป็นจำนวนมากกว่า 100 เครื่อง โดยในปีการศึกษา 2549 มีผู้สำหรับการศึกษาจากสถาบันแห่งนี้ในหลักสูตรนักบินเป็นจำนวนมากถึง 800 คน

2 ความคิดเห็น: